ปฏิเสธไม่ได้ว่า “วัยเกษียณ” เป็นช่วงวัยที่ “ทุกคน” ต้องเผชิญ แต่ทำอย่างไรล่ะที่จะได้ใช้ชีวิตวัยเกษียณในแบบที่ฝันไว้ พร้อม ๆ กับ “เงินบำเหน็จ บำนาญ” ที่เหลืออยู่ และถ้าคุณกำลังจะเข้าสู่วัยเกษียณ (55 ปีขึ้นไป) หรืออยากวางแผนเพื่อวัยเกษียณที่มั่นคงก่อนเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ มาดูวิธี “วางแผน” เงินบำเหน็จ – บำนาญ ใช้อย่างไรให้ยาวนานและไม่หมดลงง่าย ๆ
- เริ่มต้นด้วย “ออมเงินที่ได้รับในแต่ละเดือน”
ด้วยอายุที่เพิ่มมากขึ้น “รายจ่าย” ส่วนใหญ่ของคนวัยเกษียณจะเป็นค่าใช้จ่ายประจำวันมากกว่าการช้อปปิ้งทั่วไป ดังนั้นเราควรแบ่ง “เงินบำเหน็จ บำนาญ” ที่ต้องใช้ในแต่ละเดือนเป็นสัดส่วนและใช้อย่างมีวินัย เช่น- “อาทิตย์ ตั้งใจจะวางแผนเกษียณและคำนวณแล้วว่า มีเงินบำเหน็จหลังเกษียณทั้งสิ้น 6,000,000 บาท”
- อาทิตย์ ประเมินตัวเองว่าจะมี “อายุ” อยู่หลังเกษียณอีกประมาณ 25 ปี [55 ปี + 25 = 80 ปี]
- การออมเงินในแต่ละเดือนของอาทิตย์ = 6,000,000 ÷ 25 [จำนวนปีหลังเกษียณ] ÷12 [จำนวนเดือน] = ใช้จ่ายทั้งหมด 20,000 บาท/เดือน
- อาทิตย์ จึงควรแบ่งเงินค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนเป็นส่วน ๆ ดังนี้
หมายเหตุ : นอกจากค่าใช้จ่ายประจำวันในแต่ละเดือนแล้ว อาทิตย์ควรประหยัดและลดการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เพื่อให้มีเงินส่วนหนึ่งเก็บไว้ออมและเพื่อลดความเสี่ยงในอนาคตด้วย
- อย่าลืมเผื่อเพื่อ “สุขภาพ”
อีกหนึ่งค่าใช้จ่ายที่ไม่ควรมองข้าม คือ ค่ารักษาพยาบาลที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ [หากมีประกันสุขภาพ ย่อมช่วยลดความเสี่ยงเรื่องนี้ไปได้เยอะ] ซึ่งนับเป็นปัจจัยสำคัญที่อาจส่งผลกระทบโดยตรงกับเงินบำเหน็จบำนาญของผู้ที่ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ “การทำประกัน” ไว้จึงน่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุดที่จะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ [ควรทำตั้งแต่อายุยังน้อย] แต่หากคุณไม่ได้ทำประกันสุขภาพหรือประกันใด ๆ ไว้เลย อย่าลืมแบ่งเงินบำเหน็จบำนาญมาเก็บไว้เพื่อรักษาสุขภาพโดยเฉพาะ อย่างน้อย 20% ต่อปี จะเป็นการช่วยลดภาระทางการเงิน ในกรณีที่คุณเกิดเจ็บป่วยขึ้นมา - หาแหล่งลงทุน ให้เงินทำงาน
การเก็บเงินสดก็นับเป็นเรื่องดี แต่ข้อเสียคือการเก็บเงินสดนั้นไม่มีดอกเบี้ย ซึ่งจะดีกว่าถ้าคุณเลือกลงทุนในแบบที่รับความเสี่ยงได้ เพื่อให้มีรายรับ – เงินสำรอง สำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นหรือมีเงินสำหรับการท่องเที่ยวพักผ่อน เก็บออมเพื่อเป็นมรดกไว้ให้ลูกหลาน โดยที่คุณควรเลือกการลงทุนกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีความเสี่ยงต่ำ เพื่อรักษาเงินต้นไว้ แต่ยังสามารถสร้างผลตอบแทนสม่ำเสมอ เช่น การฝากเงินกับ ธนาคาร, ซื้อกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงต่ำ, ลงทุนในพันธบัตร ฯลฯ - เพิ่มรายรับจากอาชีพเสริม
คนในวัยเกษียณไม่ได้แปลว่า “หมดศักยภาพในการทำงาน” ตรงข้ามกับคนในวัยนี้ที่มีความรู้และประสบการณ์ที่มากกว่าคนในวัยหนุ่มสาวด้วยซ้ำ ดังนั้นการมีอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้เล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น การสอนพิเศษ, สร้างรายได้จากงานอดิเรก, เป็นที่ปรึกษาให้แก่บริษัทต่าง ๆ ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เป็นการเพิ่มรายได้ในวัยเกษียณทั้งสิ้น และยังช่วยให้เงินบำเหน็จบำนาญที่คุณมีอยู่ไม่หมดไปง่าย ๆ
“วัยเกษียณ” ไม่ใช่วัยที่น่ากลัวอย่างที่หลายคนคิด หากเราเริ่มวางแผนการออมเงินเพื่อวัยเกษียณไว้ตั้งแต่ตอนนี้ รวมทั้งวางแผนการใช้เงินในวัยเกษียณอย่างมีวินัย เพียงเท่านี้คุณก็สามารถใช้ชีวิตวัยเกษียณได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องเป็นภาระใครและยังมีมรดกตกทอดไปถึงลูกหลานอีกด้วย
ที่มา : Shopsmart Finance
ผลิตภัณฑ์ที่คุณอาจสนใจ
ประกันตลอดชีพ | iProtectS

ประกันออมทรัพย์ | iGen

ประกันคุ้มครองชีวิตและอุบัติเหตุ | iFine
